กันตรึม ดนตรีแห่งชีวิต 1/3

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานหลากหลายไปด้วยหลายชาติพันธุ์ แตกต่างด้วยภาษาที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น ลาวอีสาน เยอ กะเลิง ผู้ไท ถ้อ โซ่ กูย เขมร บริเวณอีสานใต้ชายแดนไทยกัมพูชา มีคนไทยเชื่อสายกูยและเขมร โดยเฉพาะ 3 จังหวัดอิสานใต้ คือ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ

สำหรับคนไทยบริเวณนี้ บางครั้งก็เรียกตัวเองว่าแขมรลือหรือเขมรสูง เพราะอาศัยอยู่ที่ราบสูงบริเวณเทือกเขาพนมดงรัก ต่างจากประเทศกัมพูชาเรียกว่า เขมรต่ำ คนไทยเชื้อสายเขมรหรือแขมรลือหรือเขมรสูง มีประชากรประมาณ 4,400,000คน โดยอาศัยหนาแน่นมากที่จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ใช้ภาษาติดต่อสื่อสารพูดคุยสื่อสารในชีวิตประจำวัน ในขณะเดียวกันก็มีภาษาดนตรีที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่นคือ กันตรึม ถึงขนาดมีสถานีวิทยุชุมชนหลายสถานี เปิดติดต่อกันสื่อสารกับผู้ฟังด้วยบทเพลงของกันตรึมมาเป็นสื่อกลาง

จังหวัดสุรินทร์ถือเป็นแหล่งกำเนิดศิลปิน ครูเพลง นักดนตรีที่สำคัญของกันตรึมรวมทั้งเป็นแหล่งผลิตผลงาน เพื่อเผยแพร่สู้ผู้บริโภคและผู้ฟังด้วย ในสมัยที่ธุรกิจเพลงเป็นธุรกิจที่แข่งขันเพื่อการค้า หลายๆคนเมื่อนึกถึงกันตรึม ก็จะนึกถึงกันตรึมร็อค กันตรึมที่มีความสนุกสนานบันเทิง แต่แท้ที่จริงแล้วกันตรึมของคนเชื้อสายเขมร คือป็นส่วนหนึ่งของพีธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ เป็นส่วนสำคัญในวิถีชีวิตของคนเชื้อสายเขมร กันตรึมกับชีวิตคนอีสานใต้แท้ๆเกือบแยกกันไม่ออก แทบทุกหมู่บ้านมีวงดนตรีกันตรึมเป็นวงดนตรีพื้นบ้านของตนเอง เพื่อแสดในงานพิธีต่างๆในหมู่บ้าน

โพสท์ใน สารคดี กันตรึม | ใส่ความเห็น

กันตรึม ดนตรีแห่งชีวิต 2/3

กันตรึมเป็นดนตรีพื้นบ้านที่เป็นเอกลักษณ์ของอีสานใต้ ร้องเป็นภาษาเขมร ที่มาของชื่อกันตรึม สันนิษฐานกันว่า มาจากจังหวะเสียงกลอง หรือ สกัว ที่ใช้เล่นเสียงดังฟังว่า โจ๊ะ ครึม ครึม หรือ โจ๊ะ ตรึม ตรึม ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ กันตรึม ชาวไทยเชื้อสายเขมรตั้งแต่ยุคก่อนจนถึงปัจจุบันเล่นกันตรึมประกอบในพิธีกรรม เพื่อรักษาคนที่เจ็บไข้ได้ป่วย เชื่อว่าสาเหตุของอาการป่วย มาจากเทวดาอารักษ์ลงโทษ เนื่องจากการทำผิดของผู้ป่วย การเล่นเพลงกันตรึมในยุคโน้นจึงเรียกว่า การเล่นเพลงอารักษ์ เพลงที่ร้องส่วนใหญ่มักเป็นบทเพลงที่ถ่ายทอดต่อๆกันมา ขณะที่ทำนองเพลงนั้นมีมากมายนับร้อย ทุกครั้งที่เล่นกันตรึมจะต้องขึ้นต้นด้วยเพลงไหว้ครูเสมอ นอกจากนั้นยังมีทำนองแห่ ทำนองพิธีกรรม และทำนองเบ็ดเตล็ด ซึ่งจะใช้เนื้อร้องทำนองใดขึ้นอยู่กับลักษณะของงาน วงดนตรีกันตรึมประกอบด้วยเครื่องดนตรี 4 ชนิด คือ กลอง 1 คู่ เป็นเสียงกลองทุ้มกับเสียงกลองแหลม หรือกลองตัวผู้ และกลองตัวเมียอย่างละใบ ตรัวหรือซอ เปยหรือปี่อ้อ นอกจากนั้นก็เสริมด้วยฉิ่ง ฉาบเล็กและกรับ ตามความเหมะสม มีนักดนตรี 4-8 คน ในสมัยก่อนในงานศพจะมีตุ้มมูลสำหรับผู้อาวุโสหรือผู้ใหญ่ในหมู่บ้าน หรืออาจจะมีการตีฆ้อง

ในหมู่บ้านลูกหลานนิยมใช้กันตรึมในงานศพเพื่อให้เกียรติแก่ผู้ตาย ในงานมงคลอย่างงานแต่งถือว่ากันตรึมเป็นส่วนสำคัญที่สุด ว่ากันว่าหากไม่มีกันตรึมเจ้าสาวก็จะไม่แต่งงานด้วย ในอดีตกันตรึมในงานแต่งงานไม่ใช่มีบทบาทในการกล่อมแห่เท่านั้น ยังมีบทบาทในการทำนายลักษณะเพศของลูกด้วย

โพสท์ใน สารคดี กันตรึม | ใส่ความเห็น

กันตรึม ดนตรีแห่งชีวิต 3/3

กันตรึมมีบทบาทสำคัญในพิธีเข้าทรงแก้บน(พิธีมะม็วด) เพื่อรักษาคนไข้ในกลุ่มเครือญาติในชุมชน ในทางจิตวิทยาพบว่า ดนตรีช่วยบำบัดส่งเสริมคนป่วยให้ดีขึ้นได้ เนื่องจากดนตรีของคนในท้องถิ่นนั้นๆ ผูกร้อยกับความเชื่อและความคิดของผู้คน พิธีกรรมเกี่ยวกับมะม็วดนี้ เป็นเรื่องสำคัญมากในวิถีชีวิตคนไทยเชื้อสายเขมร ตาเผย ศรีสวาท ศิลปินพื้นบ้านดงมัน เล่น และรักดนตรีพื้นบ้านเป็นชีวิตจิตใจ อยากให้ดนตรีเหล่านี้มีการสืบทอดไปยังลูดหลานต่อไป กันตรึมดนตรีพื้นบ้านผูกพันธ์ จนเรียกได้ว่าอยู่ในจิตวิญญาณของคนไทยเชื้อสายเขมร มีความไพเราะ มีความหมาย มีความงดงามของภาษา ท่วงทำนองรวมทั้งความเชื่อที่ลูกหลานอีสานใต้ ได้ซึมซับ และรับรู้มาอย่างยาวนาน

โพสท์ใน สารคดี กันตรึม | ใส่ความเห็น