กันตรึม ดนตรีแห่งชีวิต 1/3

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานหลากหลายไปด้วยหลายชาติพันธุ์ แตกต่างด้วยภาษาที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น ลาวอีสาน เยอ กะเลิง ผู้ไท ถ้อ โซ่ กูย เขมร บริเวณอีสานใต้ชายแดนไทยกัมพูชา มีคนไทยเชื่อสายกูยและเขมร โดยเฉพาะ 3 จังหวัดอิสานใต้ คือ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ

สำหรับคนไทยบริเวณนี้ บางครั้งก็เรียกตัวเองว่าแขมรลือหรือเขมรสูง เพราะอาศัยอยู่ที่ราบสูงบริเวณเทือกเขาพนมดงรัก ต่างจากประเทศกัมพูชาเรียกว่า เขมรต่ำ คนไทยเชื้อสายเขมรหรือแขมรลือหรือเขมรสูง มีประชากรประมาณ 4,400,000คน โดยอาศัยหนาแน่นมากที่จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ใช้ภาษาติดต่อสื่อสารพูดคุยสื่อสารในชีวิตประจำวัน ในขณะเดียวกันก็มีภาษาดนตรีที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่นคือ กันตรึม ถึงขนาดมีสถานีวิทยุชุมชนหลายสถานี เปิดติดต่อกันสื่อสารกับผู้ฟังด้วยบทเพลงของกันตรึมมาเป็นสื่อกลาง

จังหวัดสุรินทร์ถือเป็นแหล่งกำเนิดศิลปิน ครูเพลง นักดนตรีที่สำคัญของกันตรึมรวมทั้งเป็นแหล่งผลิตผลงาน เพื่อเผยแพร่สู้ผู้บริโภคและผู้ฟังด้วย ในสมัยที่ธุรกิจเพลงเป็นธุรกิจที่แข่งขันเพื่อการค้า หลายๆคนเมื่อนึกถึงกันตรึม ก็จะนึกถึงกันตรึมร็อค กันตรึมที่มีความสนุกสนานบันเทิง แต่แท้ที่จริงแล้วกันตรึมของคนเชื้อสายเขมร คือป็นส่วนหนึ่งของพีธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ เป็นส่วนสำคัญในวิถีชีวิตของคนเชื้อสายเขมร กันตรึมกับชีวิตคนอีสานใต้แท้ๆเกือบแยกกันไม่ออก แทบทุกหมู่บ้านมีวงดนตรีกันตรึมเป็นวงดนตรีพื้นบ้านของตนเอง เพื่อแสดในงานพิธีต่างๆในหมู่บ้าน

ข้อความนี้ถูกเขียนใน สารคดี กันตรึม คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น